Cute Bunny Holding Heart
Welcome to my blog krusuwinya

ความรู้เบื้องต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี (ต่อ)



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี (ต่อ)
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
  • เทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
   1. การออกแบบ (Design)
   2. การพัฒนา (Development)
   3. การใช้ (Utilization)
   4. การจัดการ (Management)
   5. การประเมิน (Evaluation)
1. การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
          1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง
          2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน
          3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน
          4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน     
          5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
  1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน                      
 1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ  ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน                
2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ
 2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย                
   2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
3.1 การใช้สื่อ  (Media Utilization)  เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน     
3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
 3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ      
 3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
 4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ    
 4.1 การจัดการโครงการ (Project Management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ        4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ                      
   4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
 4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                
   5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา         
5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป         
    5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป
องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา
  1. การเรียนรู้ ประกอบด้วย
2.1 วัสดุ คือ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสืบค้นหาข้อมูล หรือสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาประกอบในการทำงาน ชิ้นงาน เพื่อให้งานนั้นมีความสมบูรณ์ตามต้องการ
2.2 เครื่องกลไก คือกระบวนการในการทำงาน การสืบค้นหาข้อมูล ในการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ได้มีการวางแผนไว้  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
2.3 เทคนิค คือ ในการเรียนรู้ การทำงานตามกระบวนการต่างๆ  ต้องมีเทคนิคในการทำงาน  ต้องมีการวางแผน กำหนดขอบเขต  เนื้อเรื่องที่จะสืบค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้เทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน  โดยแต่ละบุคคลจะมีหลักการ แบบแผน กระบวนการคิด วิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป
2.4 อาคารสถานที่ คือ องค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ อาคารสถานที่  ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีสนานที่ในการเรียนการสอน  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อทางเทคโนโลยี เช่น การนำเสนองานผ่านโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ห้องที่มีสื่อช่วยในการสอน
2.5 เนื้อหาวิชา คือ  ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหา ที่ผู้สอนนำมาสอนเพื่อเกิดความรู้ที่ใหม่ๆ และควรหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ได้เรียนมาในห้องเรียน และผู้สอนควรผู้ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อที่จะจะนำมาสอน มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนมาล่วงหน้า และมีความรอบรู้ และรู้จริงเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้นำมาสอน
 2. บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เพราะบุคลากรเป็นผู้ที่ดำเนินงานในกระบวนการเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมด และเป็นผู้ที่ควบคุมการทำงานด้านการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการทำงานและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  บุคลากรต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความรู้ ความคิดที่แปลกใหม่
3. การพัตนาแหล่งการเรียนรู้ 
คือ การปรับปรุงหรืการเปลี่ยนแปลง  แหล่งการเรียนรู้ให้ดีขึ้น และมีประสิทฟธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอนให้มายิ่งขึ้น
 การพัตนาแหล่งการเรียนรู้   ประกอบด้วย
3.1 การวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อมูล กระบวนการในการศึกษาอย่างมีหลักการ เพื่อให้ได้ความรู้ที่เป็นจริง มีเหตุผล และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง  การวิจัยมี ลักษณะดังนี้
     1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ
     2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน
     3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง
     4. มีหลักเหตุผล
      5.บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง
 3.2 การออกแบบ คือ การคิดค้น การสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่มีแบบแผนขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงาน ให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามจุดประสงค์ของผู้ออกแบบ
3.3 การผลิต  คือ การคิด สร้างสรรค์ ผลงาน สื่อ สิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของผู้ออกแบบการสร้างงาน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและผู้สอน
 3.4 การประเมิน คือ การหาข้อสรุป เกี่ยวกับงานที่สร้างขึ้น  เพื่อประเมินว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และมีข้อบกพร่องในด้านใด ส่วนมากลักษณะการประเมิณจะสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเป็นเกณ์ในการประเมิน เพื่อที่จะผู้ประเมินนำผลสรุปไปปรับปรุงและพัฒนางานในครั้งต่อไป
3.5 การให้ความช่วยเหลือ คือ การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆที่ผู้ประสบปัญหาต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ  ผู้ช่วยเหลือต้องมีความพร้อม มีความรู้และมีประสบการณ์ ในการช่วยเหลือ
3.6 การใช้ คือ การนำกระบวนการออกแบบ การผลิต และการพัฒนาสื่อต่างๆ การนำความรู้ที่ได้สืบค้น  มาใช้ในการเรียนการสอนจริง
4. การจัดการ
 คือ การวางแผน ควบคุม จัดการสื่อให้เป็นแบบแผน วิธีการ กระบวนการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาประกอบการเรียน เพื่อให้เกิดระเบียบแบบแผน ที่แน่นอน ในการบริหารการจัดการศึกษาด้านต่างๆให้ประสบความสำเร็จตามความต้องการการจัดการ  ประกอบด้วย
4.1 การจัดการเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กร คือ การวางแผนและความคุม การปฏิบัตงานของหน่วยงานหรือองค์กร ให้เป็นไปตามหลักการ และกระบวนการ ที่ได้มีการวางแผนและสร้างกลยุทธ์ไว้
4.2 การจัดการเกี่ยวกับบุคล คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากร ผู้สอนต้องมีความพร้อมทั้งในเนื้อหาความรู้ในเรื่องที่จะสอน ในด้านบุคลิกภาพ  ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา พร้อมที่จะนำเอาความรู้ที่ได้รับมา วิเคาระห์ ประเมินหาผลสรุปที่เป็นจริง แล้วนำไปสู้กระบวนการนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
 เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา ทำให้ระบบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สนองในเรื่องความแตกต่างในระดับบุคลที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาได้ ทั้งยังส่งผลให้มีการจัดการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์ ทดลองใช้  เพื่อให้ได้มาซึ้งผลสรุปที่ถูกต้องและได้ผลจริง เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา  สามารถที่จะเรียนรู้และสืบค้น ข้อมูลทางการศึกษาได้ง่าย และสดวกมากยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้ที่ทำการศึกษากระตือรือร้นที่จะทำการศึกษาให้ได้มาซึ้งความรู้และความถูกต้องและแท้จริง
ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
1.            สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2.            สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
3.            สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.            ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5.            สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6.            ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
                นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา  หมายถึง  การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
•                  นวัตกรรมการศึกษา คือ แนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการศึกษา
•                  แพร่หลายในวงการศึกษา คือ เมื่อแนวคิดใหม่เกิดขึ้นส่งผลให้แพร่หลายในวงการการศึกษา
•                  เทคโนโลยีการศึกษา คือ เมื่อแนวคิดใหม่เกิดขึ้นและมีความแพร่หลายย่อมส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการศึกษา
•                  เกิดปัญหาจากความเปลี่ยนแปลงของการศึกษา คือ เมื่อเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้การศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิม
•                  วิเคราะห์ระบบ คือ เมื่อรูปแบบการศึกษาเปลี่ยนไปเราต้องมาวิเคราะห์การจัดการศึกษาใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นด้วย
•                  ออกแบบระบบใหม่ คือ โดยการนำเทคโนโลยีการศึกษามาออกแบบให้เข้ากับการศึกษาของยุคนั้นๆ
•                  ทดลองใช้ในสังคม คือ เมื่อออกแบบระบบใหม่แล้วก็ต้องทดลองใช้ในสังคม สิ่งนั้นนี้เรียกว่านวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรมคือจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี  เพราะนวัตกรรมหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง  และเทคโนโลยีก็คือ เครื่องมือวัสดุต่างๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป้าหมายของนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา    
    1. การ ขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1    คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากร            
1.2    วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ            
1.3     เทคนิค-วิธีการ
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
 2. การ เน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล คือ การคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ โดยใช้‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่ง ทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน
3. การ ใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้        
4. พัฒนา เครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
 นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่ไม่หยุดยั้ง  ทำให้วงการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ดังนั้นจึงทำให้วงการศึกษาเปลี่ยนไปในหลายๆด้าน  เช่น
-                   การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
-                   การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
-                   การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
-                   การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
-                   การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย
5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
 - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.            ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2.            ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3.            ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4.            ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5.            ช่วยลดเวลาในการสอน
6.            ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
 ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=893291

วีดีโอ เทคโนโลยีการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นำเสนอ INNOVATION